โครงร่างวิจัย




1. ชื่อเรื่อง
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ เพื่อยกระดับผลการทดสอบระดับชาติในระดับขั้นพื้นฐาน (O – Net)

2. ชื่อนวัตกรรม
     P – TLATO ซึ่ง P ย่อมาจาก Power Point คือ การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้โปรแกรม Power Point และมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนต่อไปนี้
Ø  T ย่อมาจาก Pre – Test คือการทดสอบก่อนเรียน เป็นการทดสอบเนื้อหาความรู้พื้นฐานของนักเรียนแต่ละคนก่อนเริ่มเรียนเรื่องนั้นๆ
Ø L ย่อมาจาก Learning คือการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนที่ครูจัดขึ้นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบบทบาทสมมติ หรือการสอนแบบอื่นๆ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของครูผู้สอน
Ø  A ย่อมาจาก Activities คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิด ความรู้และทักษะ
Ø T ย่อมาจาก Post – Test คือการทดสอบหลังเรียน เป็นการทดสอบหลังจากการเรียนทุกครั้งเพื่อสรุปองค์ความรู้ และประเมินผลนักเรียนรายบุคคล
Ø O ย่อมาจาก O – Net Question เป็นการนำข้อสอบ O – Net ที่เคยใช้ทดสอบจริง และมีเนื้อหาสอดคล้องกับบทเรียนเรื่องนั้นๆ มาให้นักเรียนได้ฝึกแก้ปัญหา

 3. วัตถุประสงค์เพื่อใช้นวัตกรรมในการแก้ปัญหา
        1. แก้ปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบจำนวนนับ ซึ่งนักเรียนมีผลผลสัมฤทธิ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานของโรงเรียนคือเฉลี่ยร้อยละ 50
2. ยกระดับผลการทดสอบระดับชาติในระดับขั้นพื้นฐาน (O – Net) ในตัวชี้วัด ค 1.4 ป.6/2  หา ห.ร.ม.  และ ค.ร.น. ของจำนวนนับ





4. วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ตัวประกอบของจำนวน หลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกับเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนคือเฉลี่ยร้อยละ 50
3. เพื่อยกระดับผลการทดสอบระดับชาติในระดับขั้นพื้นฐาน ในตัวชี้วัด ค 1.4 ป.6/2  หา ห.ร.ม.  และ ค.ร.น. ของจำนวนนับ หลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป

5. มีข้อมูลอะไรบ้างที่จะใช้ในการวิจัย
1. หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
2. แผนการจัดการเรียนรู้
2.1   ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้
2.2   ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
2.3   ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
2.4   วิธีการทำแผนการจัดการเรียนรู้
2.5 รายละเอียดแผนการจัดการเรียนรู้
3. บทเรียนสำเร็จรูป
    3.1 ความหมายของ บทเรียนสำเร็จรูป
    3.2 หลักการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
    3.3 ลักษณะของแบบเรียนสำเร็จรูป
    3.4 กรอบในบทเรียนสำเร็จรูป
    3.5 รูปแบบของบทเรียนสำเร็จรูป
4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4.2 องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4.3 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4.4 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4.5 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน




5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
   5.1 ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
   5.2 ลัหษณะของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ที่ดี
   5.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
   5.4 ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
          6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

6. คำถามการวิจัย
1.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่
2. คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนคือเฉลี่ยร้อยละ 50 หรือไม่

7. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราษฏร์สงเคราะห์วิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยผู้วิจัยใช้การเลือกสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 16 คน 

8. กระบวนการสร้างและใช้นวัตกรรม
1. การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
             ในการสร้างบทเรียนสำเร็จรูปมีลำดับขั้นตอน ดังนี้
1.1 ศึกษาสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ (สสวท.) และวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน เมื่อได้เรียนเรื่อง ตัวประกอบของจำนวนเฉพาะ ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.2 สร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยมีเนื้อหาและหัวข้อย่อยดังนี้
- จำนวนเฉพาะ
- การหาตัวประกอบและแยกตัวประกอบ
- ตัวประกอบเฉพาะ
- การหา ค.ร.น.
- โจทย์ปัญหา ค.ร.น
- การหา ห.ร.ม
- โจทย์ปัญหา ห.ร.ม.
- โจทย์ปัญหา ห.ร.ม และ ค.ร.น.
                   โดยในเนื้อหาแต่ละเรื่องนั้นมีรูปแบบการสอนตามรูปแบบ P – TLATO ซึ่ง P ย่อมาจาก Power Point คือ การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบบทเรียนสำเร็จรูปโดยใช้โปรแกรม Power Point และมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนต่อไปนี้
Ø  T ย่อมาจาก Pre – Test คือการทดสอบก่อนเรียน เป็นการทดสอบเนื้อหาความรู้พื้นฐานของนักเรียนแต่ละคนก่อนเริ่มเรียนเรื่องนั้นๆ
Ø L ย่อมาจาก Learning คือการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนที่ครูจัดขึ้นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบบทบาทสมมติ หรือการสอนแบบอื่นๆ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของครูผู้สอน
Ø  A ย่อมาจาก Activities คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิด ความรู้และทักษะ
Ø T ย่อมาจาก Post – Test คือการทดสอบหลังเรียน เป็นการทดสอบหลังจากการเรียนทุกครั้งเพื่อสรุปองค์ความรู้ และประเมินผลนักเรียนรายบุคคล
Ø O ย่อมาจาก O – Net Question เป็นการนำข้อสอบ O – Net ที่เคยใช้ทดสอบจริง และมีเนื้อหาสอดคล้องกับบทเรียนเรื่องนั้นๆ มาให้นักเรียนได้ฝึกแก้ปัญหา

1.3 นำบทเรียนสำเร็จรูปไปตรวจสอบดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index : IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้องโดยรวมเป็น 0.84 ซึ่งจะต้องประเมินด้วยคะแนน 3 ระดับ คือ
      +1 = สอดคล้องหรือแน่ใจว่าแผนการสอนนั้นวัดจุดประสงค์ที่ระบุไว้จริง
        0 = ไม่แน่ใจว่าแผนการสอนนั้นวัดจุดประสงค์ที่ระบุไว้
       -1 = ไม่สอดคล้องหรือแน่ใจว่าแผนการสอนนั้นไม่ได้วัดจุดประสงค์ที่ระบุไว้
                 ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
1.4 นำแบบเรียนสำเร็จรูปที่ได้รับการตรวจพิจารณาแล้วมาปรับปรุงแก้ไข ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญก่อนนำไปทดลองใช้กับกลุ่มที่ไม่ใช่เป้าหมาย และปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เหมาะสม

1.5 นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราษฏร์สงเคราะห์วิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยผู้วิจัยใช้การเลือกสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 16 คน 


9. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
2. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น